logo
กรมธนารักษ์
สำนักงานธนารักษ์พื้นที่เพชรบุรี
THE TREASURY
DEPARTMENT
MENU
  • A
  • A
  • A

เกี่ยวกับจังหวัด

 

 

 จังหวัดเพชรบุรีใช้ชื่อย่อว่า "พบ"

คำขวัญประจำจังหวัด

เขาวังคู่บ้าน ขนมหวานเมืองเพระ เลิศล้ำศิลปะ แดนธรรมมะ ทะเลงาม


ธงประจำจังหวัดเพชรบุรี

ต้นไม้ประจำจังหวัด

ชื่อพรรณไม้ หว้า  
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sysygium cumin

 

 ตราประจำจังหวัด

 รูปเขาวัง ผืนนา และต้นตาลโตนด

เขาวัง        หมายถึง เขาที่ตั้งของพระนครคีรี ซึ่ง ร.4ทรงสร้างและพระเจดีย์พระธาตุจอมเพชร นับเป็นเจดีย์คู่บ้านคู่เมือง
ผืนนา        หมายถึง เมืองเกษตรกรรมและความอุดมสมบูรณ์
ต้นตาลโตนด หมายถึง ต้นไม้สัญลักษณ์ของจังหวัด

 

          จังหวัดเพชรบุรี เป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก มีชื่อเรียกปรากฏในหนังสือชาวต่างประเทศ เช่น ชาววิลันดา " พิพรีย์  ชาวฝรั่งเศส เรียกว่า " พิพพีล์ และ " ฟิฟรี  จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ "เมืองพริบพรี คงเป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี

         ชื่อ  "เพชรบุรี  มีปรากฏเป็นหลักฐานมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มาของชื่อมีที่มาได้ 2 ทาง ทางแรกเป็นการเรียกตามชื่อแม่น้ำเพชรบุรี ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นการเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลากลางคืนที่เขาเด่น ทำให้คนเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนภูเขานั้น

         เมืองเพชรบุรี มีศิลปวัตถุมากมาย เป็นหลักฐานที่แสดงว่าเพชรบุรีเคยเป็นบ้านเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นชุมชนถาวรมาตั้งแต่สมัยทวารวดี

         เพชรบุรีในสมัยสุโขทัยอาณาจักรสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคำแหงแม้จะมีอำนาจครอบคลุมเพชรบุรีแต่เพชรบุรีก็ยังมีอิสระอยู่มาก สามารถส่งทูตไปจีนได้ ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีในช่วงสมัยสุโขทัยคือ พระพนมทะเลศิริ ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง จึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

         เพชรบุรีในสมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาในแบบศักดินาสวามิภักดิ์  มีขุนนางควบคุมเป็นชั้นๆขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถอำนาจในส่วนกลางมีมากขึ้น  เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น อำนาจจากส่วนกลาง จึงมามีส่วนในการปกครองเพชรบุรีมากกว่าเดิม

         ในสมัยพระมหาธรรมราชา ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมาพระยาละแวกได้ยกทัพมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรี จึงตกเป็นของเขมรจนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเขมรชนะ  เพชรบุรีจึงเป็นอิสระและเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ  จึงได้เสด็จมาประทับที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่าและสวรรคตที่เมืองหาง

เจ้าเมืองเพชรบุรีและชาวเมืองเพชรบุรี  ได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเพทราชานั้น การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งแข็งเมือง พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดี  เมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธาได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง

         เพชรบุรีในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงแผ่นดินพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ไทยยังคงทำสงครามกับพม่ามาโดยตลอด ซึ่งเจ้าเมืองและชาวเมืองเพชรบุรีก็ยังคงมีส่วนในการทำสงครามดังกล่าว จนเมื่อพม่าตกเป็นของอังกฤษ บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีต่อเมืองหลวงและราชสำนักจึงค่อยๆเปลี่ยนไป

        พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว  โปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ยๆใกล้กับตัวเมืองและพระราชทานนามว่า "พระนครคีรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองเพชรบุรี คือ " พระรามราชนิเวศน์หรือ "วังบ้านปืน  และด้วยความเชื่อที่ว่าอากาศชายทะเลและน้ำทะเล อาจบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวัง  " พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ขึ้น ที่ชายหาดชะอำเพื่อใช้เป็นที่ประทับรักษาพระองค์


ขนาด ที่ตั้งและอาณาเขต
               
                     จังหวัดเพชรบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 6,225,138  ตารางกิโลเมตร หรือ 3,890,711  ไร่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคกลาง มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้               

  • ทิศเหนือ ติดกับอำเภอปากท่อ   จังหวัดราชบุรี  และอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม                
  • ทิศใต้ ติดกับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • ทิศตะวันออก ติดกับอ่าวไทย
  • ทิศตะวันตก ติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) 

         ทางด้านทิศตะวันตกในเขตอำเภอแก่งกระจานและอำเภอหนองหญ้าปล้อง มีลักษณะเป็นที่ราบสูงและภูเขาสูงชัน แล้วค่อยๆลาดต่ำมาทางทิศตะวันออกเกิดเป็นสันปันน้ำ แบ่งน้ำส่วนหนึ่งให้ไหลลงสู่ประเทศพม่าและอีกส่วนหนึ่งไหลมาทางทิศตะวันออกเป็นต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีและแม่น้ำปราณบุรี  สภาพเช่นนี้ทำให้ทางทิศตะวันตกของจังหวัดเพชรบุรีอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ และแร่ธาตุ  แต่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยเนื่องจากเป็นแดนกันดาร จะมีเพียงชาวกะเหรี่ยงและชาวกะหร่างที่อพยพข้ามแดนมาจากพม่าเข้ามาอาศัยเท่านั้น 

จังหวัดเพชรบุรี อยู่ติดกับอ่าวไทย จึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูฝนและอิทธิพลจากลมสรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวมากที่สุด คือ ช่วงเดือนธันวาคม -  เมษายน แบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดูดังนี้               

  • ฤดูร้อน                  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ กลางเดือนพฤษภาคม               
  • ฤดูฝน                     เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม กลางเดือนตุลาคม                
  • ฤดูหนาว                เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม กลางเดือนกุมภาพันธ์                

ในปี 2546 อุณหภูมิเฉลี่ยวันสูงสุด 36.5 องศาเซลเซียส (วันที่ 5 สิงหาคม 2546) วันต่ำสุด 16.5 องศาเซลเซียส (วันที่ 14 มกราคม 2546) อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 28.17 องศาเซลเซียส

จากสถิติปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ปี 2537 2546 เฉลี่ยวันฝนตกประมาณปีละ 102 วัน  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 10 ปี 957.02 มิลลิเมตรต่อปี  มีฝนตกมากในช่วงเดือนกันยายน ตุลาคม

การปกครอง (ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดเพชรบุรี ณ วันที่ 30  มิถุนายน 2548)               

จังหวัดเพชรบุรี มีรูปแบบการปกครองและการบริหาราชการแผ่นดิน  3 รูปแบบ คือ

  1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วยหน่วยงานสังกัดส่วนกลาง ซึ่งมาตั้งหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 76 ส่วนราชการ
  2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการเป็น 2 ระดับ- ระดับจังหวัด ประกอบด้วยส่วนราชการประจำจังหวัด จำนวน 27 ส่วนราชการ- ระดับอำเภอ ประกอบด้วย 8 อำเภอ ( 93 ตำบล  697  หมู่บ้าน)สำหรับรายชื่ออำเภอทั้ง 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอชะอำ อำเภอท่ายาง อำเภอเขาย้อย อำเภอบ้านแหลม อำเภอบ้านลาด อำเภอหนองหญ้าปล้อง และอำเภอแก่งกระจาน
  3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี เทศบาล  12  แห่ง (เทศบาลเมือง  2  และเทศบาลตำบล  10  แห่ง) องค์การบริหารส่วนตำบล  73  แห่ง

วิธีการเดินทางเข้าสู่จังหวัดเพชรบุรี

ทางโดยรถประจำทาง

รถโดยสารประจำทางมีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 และรถตู้ ขึ้นรถได้ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  และสถานีขนส่งสายใต้  ไปเพชรบุรีนั้น มีสองเส้นทาง คือ

  • สายใหม่ หมายถึงรถที่วิ่งเส้นทางสมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - เพชรบุรี สายใหม่จะใกล้กว่า ปัจจุบันเป็นที่นิยมของคนเมืองเพชรบุรี จะเป็นรถตู้  จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  • สายเก่า หมายถึงรถที่วิ่งเส้นทาง นครปฐม - ราชบุรี - เพชรบุรี ระยะทางไกลกว่าสายใหม่
    เป็นเส้นทางเดินรถ รถตู้ จากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ทางรถยนต์

  1. เส้นทางนครปฐม - ราชบุรี - เพชรบุรี ใช้ ถ.บรมราชชนนี หรือถนนคู่ขนานลอยฟ้า
    จากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ผ่านเขตตลิ่งชัน แยกพุทธมณฑลสาย
    2 แยกพุทธมณฑลสาย
    4 จนไปบรรจบกับ ถ.เพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ซึ่งตรงมาจากท่าพระ บางแค หนองแขม อ้อมน้อย จนถึง อ.นครชัยศรี จากนั้น มุ่งตรงผ่าน จ.นครปฐม จ.ราชบุรี และเข้าสู่ จ.เพชรบุรี
    รวมระยะทาง จนถึงตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ
    166 กม.
  2. เส้นทางสมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - เพชรบุรี ใช้ ถ.พระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35)
    ซึ่งเริ่มต้นจากทางด่วนเฉลิมมหานคร เชิงสะพานพระราม 9 ผ่านเขตบางมด ภาษีเจริญ หัวกระบือ เอกชัย จนเข้าเขต จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรสงคราม อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี จนบรรจบกับ ถ.เพชรเกษม
    ที่บริเวณแยกวังมะนาว เข้าสู่ จ.เพชรบุรี รวมระยะทาง จนถึงตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ
    121 กม.  สำหรับผู้จะเดินทางไปหาดชะอำ ถ้าใช้ ถ.เพชรเกษม โดยไม่เข้าตัวเมืองเพชรบุรี อาจเดินทางถึงที่หมายได้เร็วก็จริง แต่ถ้าใช้เส้นทางสาย 3177 ไปทางหาดเจ้าสำราญ - หาดปึกเตียน เส้นทางจะผ่านทุ่งนา และเลียบชายทะเล ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงาม   

ทางรถไฟ

สำหรับรถไฟ มีทั้งรถธรรมดา รถเร็ว รถด่วน ฯลฯ การเที่ยวทางรถไฟต้องใช้ระยะเวลาเดินทางเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของรถไฟ แต่ทัศนียภาพสองข้างทาง ก็ให้บรรยากาศ และความเพลิดเพลิน ในอีกรูปแบบที่ต่างไปจากการเดินทางโดยรถยนต์ นอกจากนี้ รฟท. ยังให้บริการนำเที่ยว เมืองเพชร โดยใช้เวลา 1 วันด้วย ค่าโดยสารรถไฟ มีสองส่วน คือ ค่าธรรมเนียมรถไฟ ซึ่งจ่ายตามประเภทรถ และค่าโดยสารซึ่งจ่ายตามชั้นที่นั่ง 

การเดินทางภายในตัวเมือง

การเดินทางในตัวเมืองเพชรบุรีค่อนข้างสะดวกสบาย มีรถหลายประเภท ให้เลือกใช้บริการ ดังนี้

  1. รถสี่ล้อเล็ก ชาวเมืองเพชร เรียกว่า "รถเล้ง" มีวิ่งบริการอยู่ทั่วไป จะจอดรอผู้โดยสารอยู่ตามหน้าสถานีขนส่ง สถานีรถไฟ ตลาด นักท่องเที่ยวควรถามคนขับก่อนขึ้นรถ ถึงเส้นทางที่รถจะผ่าน และจุดหมายปลายทางที่ต้องการจะไป
  2. สามล้อถีบมีบริการอยู่ทั่วไป จอดรอผู้โดยสารอยู่ตามจุดต่างๆ เช่นเดียวกับรถเล้ง รถหนึ่งคัน
    นั่งได้สองคน อัตราค่าโดยสาร ในระยะทางสั้นๆ (ประมาณ
    1- 2 กม.)
  3. มอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีวิ่งบริการในเมืองเพชรบุรี อยู่มากมายเช่นเดียวกัน

ระยะทางจากตัวเมืองไปอำเภอต่างๆ และจังหวัดใกล้เคียง จากตัวเมือง มีรถโดยสารไปยังอำเภอต่าง ๆ โดยมีระยะทางดังนี้

  • อำเภอท่ายาง 18 กิโลเมตร
  • อำเภอชะอำ 45 กิโลเมตร
  • อำเภอบ้านแหลม 12 กิโลเมตร
  • อำเภอบ้านลาด กิโลเมตร
  • อำเภอเขาย้อย 23 กิโลเมตร
  • อำเภอหนองหญ้าปล้อง 34 กิโลเมตร
  • อำเภอแก่งกระจาน 57 กิโลเมตร

นอกจากนี้จากตัวเมืองเพชรบุรียังมีรถโดยสารไปหัวหิน ปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และราชบุรี ระยะทางเป็นดังนี้
เพชรบุรี-หัวหิน 66 กิโลเมตร
เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ 158 กิโลเมตร

 

 

  

 

 
  5/5 หมู่ 1 ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมืองเพชรบุรี    
  จังหวัดเพชรบุรี 76000   ห้องพักราคา  529 บาท
43/33 หมู่ 5 ถนน เพชรเกษม ตำบล บ้านหม้อ
 อำเภอ เมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000 
 ห้องพักราคา  676 บาท      032 400 000
555 ม.1 เพชรเกษม  ตำบลไร่ส้ม  อำเภอเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี  76000   081-5718524
ราคาห้องพัก  850 บาท
143 ถนนราชวิถี  ตำบลคลองกระแซง
อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี  จังหวัดเพชราบุรี  76000
  083-0756432   ราคาห้องพัก   700  บาท

40/9  ตำบลหนองขนาน อำเภอเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี 76000     
  084 645 4914
ราคาห้องพัก  3,707 บาท

 78/7 ถนนคลองกระแชง  ตำบลคลองกระแซง 
 อำเภอ เมืองเพชรบุรี  จังหวัดเพชรบุรี 76000
 
 
090 325 3885  
 ตำบลต้นมะม่วง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 
 76000     
091-1634999  
 ราคาห้องพัก  780 บาท
170 ตำบลหาดเจ้าสำราญ  อำเภอเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี  76100
  032-441370

 

10 กรกฎาคม 2556 | จำนวนเข้าชม 6093 ครั้ง